วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมประเพณีอีสาน


วัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน

 
        ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูง  อาณาเขตด้านเหนือและตะวันออก มีแม่น้ำโขงเป็นแนวกั้นอาณาเขต  ด้านใต้จรดเขตชายแดน
 กัมพูชา   ส่วนทางด้านตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นกั้นแยกจากอาณาเขตภาคกลางและภาคเหนือ ยอดเขาที่สูงที่สุดของอีสานคือ ยอดเขาภูกระดึง
 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญต่างๆ ของภาคอีสาน คือ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี และ ลำตะคอง  พื้นที่ของภาคอีสานประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทย
  ภาคอีสานประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ดังนี้
  1.นครราชสีมา 2.ชัยภูมิ  3.ขอนแก่น  4.กาฬสินธุ์  5.นครพนม  6.บุรีรัมย์  7.บึงกาฬ  8.มหาสารคาม  9.มุกดาหาร  10.สกลนคร
  11.ร้อยเอ็ด    12.ยโสธร 13.เลย       14.สุรินทร์   15.หนองคาย  16.อำนาจเจริญ   17.อุดรธานี  18.อุบลราชธานี   19.หนองบัวลำภู  20.ศีรษะเกษ
 
        ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่เป็นอารยธรรมโบราณ ประชากรที่อาศัยอยู่ส่วนมากเป็นคนไทยเชื้อสายลาวและเชื้อสายเขมร  มีคตินิยมผูกแน่นอยู่กับ ประเพณีโบราณมีการรักษา
 สืบเนื่องต่อกันมา จึงเป็นถิ่นแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมประเพณีที่ผสมผสานความเชื่อถือในเรื่องของการนับถือผี และคติทางพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน
  ศิลปและวัฒนธรรม
            ศิลปและวัฒนธรรมของภาคอีสานโดยภาพรวมมีดังนี้
            การทอผ้า มีการสืบทอดการทอผ้าต่อๆกันมาไม่ขาดสาย ชนิดของผ้าเป็นประเภทผ้าไหม และผ้าฝ้าย  เช่น ผ้าไหมมัดหมี่, (หมายเหตุ คำว่า มัดหมี่ คือกรรมวิธีทอผ้า
                             ชนิดหนึ่ง โดยวิธีการมัดเส้นด้ายก่อนนำมาย้อมสีเพื่อนำไปทอเป็นผ้าต่อไป) 
            เพลงพื้นบ้าน  แบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ เพลงพิธีกรรม   และ เพลงการละเล่น
                                   1) เพลงพิธีกรรม  ได้แก่ เพลงที่ใช้ในการ ขับประกอบพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ หรือใช้ประกอบในการ แสดงหรือเทศนาธรรม เช่น ลำพระเวส(เทศน์เรื่องพระเวสสันดร
                                   ชาดก หรือเทศน์มหาชาติ)หรือเรียกว่า เทศน์แหล่,    ลำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมเพื่อรักษาคนป่วย,  และเพลงที่ใช้ประกอบพิธี บายศรีสู่ขวัญ
                                   2) เพลงการละเล่น มี หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำเพลิน และเพลงโคราช เป็นต้น
             การฟ้อนรำ  ประเภทฟ้อนรำใช้ในพิธีกรรม ได้แก่  ฟ้อนผีฟ้า, ฟ้อนภูไท, ฟ้อนไทดำ,เซิ้งบั้งไฟ,  รำบายศรี เป็นต้น
                                ประเภทฟ้อนรำเพื่อความสนุกสนาน ได้แก่ เซิ้งสวิง,  เซิ้งกะติ๊บ, รำโปงลาง,  ฟ้อนกลองตุ้ม, รำกลองยาวอีสาน เป็นต้น
             เครื่องดนตรีอีสาน:  เครื่องเป่าได้แก่ แคน, โหวด, และ ปีไสล,  เครื่องดีด ได้แก่ พิณ,กระจับปี่, และเครื่องสี เช่น ซอกันตรึม เป็นต้น
           
             อาหารประจำถิ่นภาคอีสาน:  อาหารประจำถิ่นยอดนิยมภาคอีสานคือ ส้มตำ  ซึ่งทำจากมะละกอดิบนำมาสับเป็นเส้นๆ ปรุงรสจัด  นอกจากนั้นก็มี ปลาร้า,
                                 ไส้กรอกอีสาน, ลาบ,ก้อย,แกงผักหวาน, แกงอ่อม, ผัดหมี่โคราช  เป็นต้น
 
             ประเพณีพิธีกรรม: ประเพณีที่โดดเด่นของภาคอีสานคือ บุญบั้งไฟ ซึ่งนิยมทำกันในเดือน 6  จุดประสงค์เพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล และเป็นการบวงสรวงบูชาเทวดารักษา
                                          บ้านรักษาเมือง
                                          ตำนานบุญบั้งไฟ   เล่นสืบต่อกันมาว่า ในสมัยก่อนพุทธกาล มีผู้มีบุญชื่อว่า พญาคันคาก เป็นที่นับถือของชาวบ้านชาวเมืองมาก จนทำให้ พญาแถน ซึ่งเป็น
                                          เทพเจ้าแห่งฝน เกิดความอิจฉาไม่ชอบใจ  จึงได้บันดาลให้ฝนไม่ตกเป็นเวลา 8ปี8เดือน  พญาคันคาก ได้สู้รบกับ พญาแถน และสามารถรบชนะพญาแถน
                                          โดยพญาแถนที่พ่ายแพ้ต้องทำสัญญาต่อ พญาคันคาก ว่า เมื่อถึงเดือนหก ถ้ามนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นเป็นสัญญาณ พญาแถนต้องปล่อยน้ำฝนลงมา
                                          
                                          การทำบั้งไฟ   1.  เริ่มจากทำดินปืนโดยนำถ่านและดินประสิวมาผสมให้เข้ากันแล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อย                                                                 2.  นำดินปืนอัดลงในท่อที่เป็นตัวบั้งไฟให้แน่นพอสมควร                                                                  
                                                                 3.  นำหางบั้งไฟ(ทำด้วยไม้ไผ่)ไปต้มในน้ำจนเดือดเพื่อให้หางเบาไม่ถ่วงตัวบั้งไฟเวลาจุด                                                                 4.  นำตัวบั้งไฟและส่วนหางมาผูกติดกันไว้ แล้วตกแต่งให้สวยงา
 
  หมายเหตุ  วัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน ยังมีอีกมากมายหลากหลาย ที่นำมาแสดงนี้เป็นเพียงข้อมูลย่อๆ เท่านั้น 
                    เพื่อการเข้าถึงวัฒนธรรมประเพณีอีสานที่ชัดเจนขึ้น ให้ดูจาก วิดีโอประกอบ ในหน้าหมวดวิดิโอ       
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น